ประวัติโรงเรียน
|
โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลไทรม้า เปิดสอนเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2476 โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดไทรม้าใต้ ทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลวงสฤษสาราลักษณ์ นายอำเภอเมืองนนทบุรีเป็นผู้ทำพิธีเปิด ปี พ.ศ.2482 ได้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 คณะห้างขายยาพระนครและประชาชนได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง บนที่ดินของวัดไทรม้าเหนือ เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน ปีการศึกษา 2512 ได้เปิดสอนถึงชัั้นประถมศึกษาปีที่ 7 พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 004
อีก 1 หลัง โดยเงินงบประมาณของทางราชการและประชาชนสมทบ ปี พ.ศ.2514 ได้รื้อย้ายอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี มาสร้างที่โรงเรียนวัดไทรม้า แทนอาคารห้างขายยาพระนคร และทางราชการได้สร้างอาคารเรียนแบบ 017 ให้อีกหลัง ปี พ.ศ.2516 ทางราชการได้สร้างบ้านพักครูแลองค์การฯ ให้ 1 หลัง ปี พ.ศ.2518 ทางราชการได้สร้างบ้านพักครูแบบองค์การฯ ให้ 1 หลัง ปี พ.ศ.2519 ทางราชการได้สร้างอาคารเรียนแบบ 017 ให้อีก 1 หลัง พร้อมส้วม 3 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง ปี พ.ศ.2520 ทางราชการได้สร้างบ้านพักครูแบบองค์การฯ ให้ 1 หลัง ปี พ.ศ.2520 ทางราชการได้สร้างบ้านพักครูแบบองค์การฯ ให้ 1 หลัง ปี พ.ศ.2522 ทางราชการได้สร้างบ้านพักครูแบบองค์การฯ ให้ 1 หลัง ปี พ.ศ.2529 นายไพโรจน์ คลังนุช มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า ได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนในด้านการศึกษา และพัฒนาโรงเรียน ดังนี้ คือ ก่อสร้างโรงฝึกงานด้วยงบประชาชน สนามอเนกประสงค์ หอกระจายข่าว สนามเด็กเล่น ต่อเติมโรงอาหาร สร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สร้างเสาธงใหม่ ติดตั้งพัดลมเพดาน ตัดถนนเข้าสู่โรงเรียนโดยขอบริจาคที่ดินจากอาจารย์กฤษณา สาระสาลิน และคุณดำรง ภิรักจรรยากุล กับคุณสี คงชุ่ม ได้บริจาคทรัพย์ในการสร้างถนน สร้างศาลาอเนกประสงค์ สร้างส้วมขนาด 6 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง สร้างห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้าได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีเด่นของจังหวัดนนทบุรี และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนพระราชทาน ปีการศึกษา 2537 ได้รื้ออาคารแบบ 017 และประชาชนได้บริจาคเงินจำนวน 6 ล้านบาทเศษ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 จำนวน 3 ชั้น 15 ห้องเรียน ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์โดยนายสุธรรม ปั้นประเสริฐ เลขาธิการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2538 ได้สร้างเสร็จในปีการศึกษา 2539 ให้ชื่ออาคารเรียนว่า "ประชาสามัคคีเอื้อวิทย์" ปีการศึกษา 2539 คุณลุงสี คงชุ่ม ได้บริจาคเงินสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม 1 หลัง จำนวน 10 ที่นั่ง มูลค่า 300,000 บาท และนางสาวพรรณี สังข์รุ่ง ได้บริจาคเงินสร้างส้วมนักเรียนอนุบาล จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง มูลค่า 235,655 บาท ได้เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าอาคารหลังใหม่ จัดทำห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษ โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และเปิดขยายการสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2541 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรีอนุมัติเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 2/28 (ปรับปรุง) จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น 18 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง โดยเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2542 ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่ออาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา" พร้อมทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดิษฐานตราสัญลักษณ์ 72 พรรษา ที่อาคารเรียนด้วย วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้นายไพโรจน์ คลังนุช ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จังหวัดนนทบุรี และนางพิสมัย ภักตร์นิกร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า ปัจจุบันโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า เปิดสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย 4 ขวบ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที 3 ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยเริ่มเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า มีผู้บริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 1. นายบุญช่วย เทวะผลิน พ.ศ. 2476-2477 2. นายทองคำ ระรื่น พ.ศ. 2477-2482 3. นายศิริ กลันตะบุตร พ.ศ. 2482-2485 4. นายเพ็ญ เปรมโรจน์ พ.ศ. 2494-2509 5. นายบุญชู สังข์รุ่ง พ.ศ. 2509-2519 6. นางจินตนา แสนสุข พ.ศ. 2520-2523 7. นายชิน ศุขโข พ.ศ. 2523-2529 8. นายไพโรจน์ คลังนุช พ.ศ.2529-2542 9. ดร.พิสมัย ภักตร์นิกร พ.ศ. 2542 - 2547 10. นายปัญญา เนื่องฤทธิ์ พ.ศ. 2547 – 2559 11. นางศรณี คุปติปัทมกุล พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน |